วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำไม? ทำไม? ทำไม? : บทสัมภาษณ์







Q: ก่อนอื่นต้องขอถามคุณแนนก่อนครับ ว่า ชาวภูไท เนี่ยมีประวัติความเป็นมา และมีวิถีชีวิตยังไงครับ?

A: จากที่เคย ศึกษา อ่านจากหนังสือ คำว่า ภูไท หรือผู้ไทย หรือ คนไต ทั้ง 3 คำนี้ เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน ซึ่งหมายถึง ฟ้า หรือ ดวงดาว คนชนชาตินี้รักความอิสระ ชอบอาศัยอยู่ในที่สูง คือภูเขา มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่ากลุ่มชนชาติใดๆ มีความเชื่อในการนับถือลัทธิผีฟ้า และเคารพวิญญาณบรรพบุรุษ  คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า 'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย” วิถีชีวิตของชาวผู้ไทย ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวผู้ไทย ก็เหมือนกับครอบครัวไทยทั่วๆไป 

ภาษาที่ใช้เป็นภาษาผู้ไท และยังคงรักษาไว้ได้ด้วยดีตลอดมา ภาษาผู้ไทเป็นภาษาที่พูดแปร่งไปจากภาษาลาวและภาษาไทยภาคกลาง
ด้านศีลธรรมจรรยา ไม่ว่าลูกหญิงลูกชายจะได้รับการอบรมเหมือนกัน คือ ให้มีสัมมาคารวะทุกอริยาบทให้สำรวม



Q: ได้ยินมาว่าชาวผู้ไทย หรือ ภูไท เนี่ย มี การเล่านิทานที่เป็นเอกลักษณ์ มันเป็นยังไงหรอครับ?

A:
การเล่านิทานพื้นบ้านของภูไทยเป็นการเล่านิทานเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ
ที่มนุษย์ได้กระทำมานานก่อนการสร้างมหรสพประเภทอื่น
การเล่านิทานเล่าได้ทุกที่และทุกโอกาส ไม่ต้องมีพิธีรีตองแต่อย่างใด
ฉะนั้นการเล่านิทานจึงนิยมกันแพร่หลายในทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้นและทุกวัย

 

Q: ช่วยยกตัวอย่าง จุดประสงค์ในการเล่านิทานของชาวภูไท หน่อยครับ?


A: 
1.             เพื่อความสนุกสนาน เป็นเครื่องบันเทิงใจในยามว่าง

2.             เพื่อใช้สั่งสอน ได้แก่ นิทานคติต่างๆ

3.             เพื่อให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับสถานที่ ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ

4.             เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ศาสนา เช่น รามายณะ นิทานเกี่ยวกับเทพเจ้าต่างๆ 






 Q: สุดท้ายอยากให้แนะนำ นิทาน ของชาวภูไท ฝากให้คุณผู้ฟังเป็นตัวอย่าง
สัก 2 เรื่อง ก็ได้ครับ?


A:
นิทานเรื่อง เลิ้งวาสนาเมงู เรื่อง...แยคันทัน
และ เรื่องอีกมากมาย สามารถหาได้ตามห้องสมุดหรืออินเตอร์เน็ตก้ได้ค่ะ



และนี้เป็นคลิปของการสัมภาษณ์ครับ
บทสัมภาษณ์คุณปรียารัตน์ เติมเจริญผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น